saraban@rbru.ac.th 039-319111 ต่อ 0
เวทีประชาคมสะท้อนปัญหาช้างป่าจันทบุรี และโครงการการจัดการปัญหาช้างป่า Ai-YARA

ขอบเขตเป้าหมายโครงการ:

นโยบายและการบริหารจัดการ
วิจัยและนวัตกรรม
การเรียนการสอน
การมีส่วนร่วมสู่ท้องถิ่น

ผู้รับผิดชอบ :

คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

| วันที่จัดโครงการ 1 ม.ค. 2565 - 31 ธ.ค. 2566


เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 (09:00 น.) 8 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมสริรำไพพรรณ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี เป็นประธานโครงการเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดี พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ มีพระธรรมวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม, พลตำรวจโท ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลเรือเอกอะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ, นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี, ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ประธานกรรมการกองทุนคชานุรักษ์, พลตำรวจตรี นันทวุฒิ สุวรรณละออง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 และผู้แทนชุมชนร่วมเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าการจัดโครงการเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2 นี้ สืบเนื่องจากพระธรรมวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในจังหวัดจันทบุรี จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2565 มีประชาชนในชุมชนร่วมสะท้อนถึงปัญหา ทำให้ทราบถึงความต้องการของชุมชนในหลายประเด็น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจัดเวทีประชาคมฯ ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็น โดยในเวทีนี้มีแกนนำจากพื้นที่กว่า 100 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าร่วมกันนำเสนอผลการดำเนินโครงการกองทุนพัชรสุธาคชานุรักษ์ การแก้ปัญหาผลกระทบจากช้างป่าด้วยแนวทางกิจการเพื่อสังคม และทบทวนข้อมูลจากเวทีประชาคม ครั้งที่ 1 ก่อนที่จะแบ่งกลุ่มเวทีอภิปราย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภาครัฐ และภาคประชาชนในส่วนของผลการปภิปรายนั้น มีการสรุปผลการอภิปราย และจัดลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหาออกเป็น 4 ลำดับ ได้แก่ การดูแลกลุ่มจิตอาสาเฝ้าระวังผลักดันช้าง โดยให้มีการขึ้นทะเบียน เพิ่มเงินสวัสดิการและการจ่ายค่าตอบแทนที่คุ้มค่า รวมถึงการแก้ไขกฏหมายให้เข้ากับสถานการณ์ , การเปลี่ยนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เป็นป่าที่เกิดประโยชน์เพื่อชะลอปัญหาช้าง โดยการพัฒนาให้เป็นแหล่งอาหารและที่พักของช้างป่า , การพกอาวุธเพื่อป้องกันตัวของจิตอาสาเฝ้าระวังผลักดันช้าง โดยเพิ่มความสะดวกด้านข้อกฏหมายในการปฏิบัติหน้าที่ และโครงการการจัดการปัญหาช้างป่า "Ai-YARA" ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนการบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมของช้าง และระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับคัดกรองภาพช้างป่า โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์การดำเนินการร่วมกับมูลนิธิพชรสุธาคชานุรักษ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และภาคประชาชนได้ร่วมมือกัน แก้ไขปัญหาช้างป่าบุกรุกทำลายชีวิตและทรัพย์สินที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ 5 จังหวัด ภาคตะวันออก โดยการร่วมพัฒนาและเชื่อมต่อระบบ AI โดยมีการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) และแอปพลิเคชันSmart Early Warning System

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ไฟล์ที่แนบ

SDG ที่เกี่ยวข้อง :
    SDG 1 : ขจัดความยากจน
    SDG 2 : ขจัดความหิวโหย
    SDG 11 : เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
    SDG 15 : การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
    SDG 16 : สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
    SDG 17 : ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน