saraban@rbru.ac.th 039-319111 ต่อ 0

การจัดการความรู้เพื่อบูรนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของธนาคารปูม้าและเศรษฐกิจ-สังคมของชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดและจังหวัดระยอง

ขอบเขตเป้าหมายโครงการ


วิจัยและนวัตกรรม
การมีส่วนร่วมสู่ท้องถิ่น

ผู้รับผิดชอบ : สาขาเทคโนโลยีการเกษตร | วันที่จัดโครงการ 28 เม.ย. 3107 - 27 ก.พ. 3107


ปูม้าเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งที่มีความสำคัญทั้งกับระบบเศรษฐกิจ-สังคมของชาวประมงทะเล และระบบเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์ความรู้จากการวิจัยเพาะพันธุ์ปูม้าระดับเพียงพอที่สามารถนำมาบริหารจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมธนาคารปูม้าที่ดำเนินการโดย ชุมชนประมงในพื้นที่ทางทะเลของไทยได้ โครงการวิจัยครั้งนี้จึงดำเนินการเพื่อบริหารจัดการความรู้จากงานวิจัยและการเพาะพันธุ์ปูม้าและองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับนำมาขยายผลสู่การเพิ่มจำนวนธนาคารปูม้าในพื้นที่ภาคตะวันออกและส่งเสริมให้กิจกรรมธนาคารปูม้าดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการของโครงการวิจัยมี 4 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ การรวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้ การจัดตั้งธนาคารปูม้าชุมชน และการบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ธนาคารปูม้าที่ได้จัดตั้งขึ้นและสู่ชุมชนที่สนใจ รวมทั้งการติดตามดูแลการดำเนินงานของธนาคารปูม้าต่าง ๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้น ผลการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ครบถ้วน โดยได้จัดตั้งธนาคารปูม้าได้ทั้งสิ้น 25 ธนาคาร กระจายตามหมู่บ้านชาวประมงปูม้าทั้งในจังหวัดตราดและจังหวัดระยอง จัดตั้งชุมชนธนาคารปูม้าต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้ธนาคารปูม้าจำนวน 3 ศูนย์การเรียนรู้ มีจำนวนแม่ปูม้าที่เข้าสู่ธนาคารเฉลี่ย 101 ตัว/ธนาคาร/เดือน มีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ 34 ครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเฉลี่ย 36 คน/ครั้ง ชุมชนที่ได้รับประโยชน์ 50 ชุมชน จำนวนธนาคารปูม้าที่ได้รับการขยายผลองค์ความรู้ 25 ธนาคาร รายได้จากการดำเนินงานของชุมชนธนาคารปูม้าต้นแบบเพิ่มขึ้น มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรประมงเพื่อความยั่งยืน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การจัดการท่องเที่ยว และบริการวิชาการตามคำร้องขอของชุมชน ให้กับชุมชน นักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอ การติดตามดูแลการดำเนินงานของธนาคารปูม้าที่จัดตั้งขึ้นได้ดำเนินการทั้งการสนับสนุนทางวิชาการ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และการสนับสนุนการจัดกิจกรรมทั้งการท่องเที่ยวและแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงรวมทั้งด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการดำเนินงานทั้ง 25 ธนาคารที่จัดตั้งขึ้นสามารถปล่อยลูกปูม้าระยะวัยอ่อนสู่แหล่งอาศัยที่เหมาะสมได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้เกิดการทดแทนที่ของปูม้าเข้าสู่แหล่งประมงมากขึ้น และทำให้ปริมาณ ปูม้าที่จับได้มีมากขึ้นในช่วงเวลาที่ดำเนินงานธนาคารปูม้า การศึกษาผลกระทบการดำเนินการธนาคารปูม้าต่อสภาพเศรษฐกิจ-สังคมของชาวประมงโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบแบบสอบถามพบว่ารายได้ชาวประมงปูม้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตลอดระยะเวลาที่ดำเนินงานธนาคารปูม้า การสำรวจภาคสนามพบว่าชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินงานของธนาคารปูม้าทั้งจากการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรโดยตรงซึ่งส่งผลดีกับการทำการประมงปูม้าและการซื้อขายปูม้า เป็นต้น และยังมีผลประโยชน์ทางอ้อมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวคือ ธุรกิจโรงแรมที่พัก ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจการบริการรวบรวมและขายปลีกอาหารทะเล ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 50 ชุมชน จากผลการดำเนินงานทั้งหมดสรุปได้ว่าชาวประมงมีทัศนคติที่ดีกับการดำเนินงานธนาคารปูม้า และการพัฒนาของชุมชน การดำเนินงานของธนาคารปูม้ามีผลกระทบที่ดีต่อสภาวะเศรษฐกิจ-สังคมของชาวประมงในพื้นที่

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ไฟล์ที่แนบ

Related SDGs :
    SDG 1 : ขจัดความยากจน
    SDG 2 : ขจัดความหิวโหย
    SDG 3 : การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
    SDG 4 : การศึกษาที่มีคุณภาพ
    SDG 5 : ความเท่าเทียมทางเพศ
    SDG 8 : การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
    SDG 10 : ลดความเหลื่อมล้ำ
    SDG 12 : แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
    SDG 13 : การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    SDG 14 : การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
    SDG 16 : สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
    SDG 17 : ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน