saraban@rbru.ac.th 039-319111 ต่อ 0
โครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย ณ กัมพูชา

ขอบเขตเป้าหมายโครงการ:

นโยบายและการบริหารจัดการ
วิจัยและนวัตกรรม
การเรียนการสอน
การมีส่วนร่วมสู่ท้องถิ่น

ผู้รับผิดชอบ :

สาขาภาษาไทย

| วันที่จัดโครงการ 24 ธ.ค. 2558 - 31 ธ.ค. 2568


โครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย ณ กัมพูชา
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีดำเนินโครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาภาษาไทยตั้งแต่ปี 2015 ถึง ปี 2025 ดังนี้
ระยะที่ 1 ปี 2015 – 2019 ดำเนินการดังนี้
1) ดำเนินการเตรียมความพร้อมจัดทำหลักสูตร (ระยะสั้น 4 ช่วงชั้น) (ธันวาคม 2015 – กุมภาพันธ์ 2016)
2) การจัดการเรียนการสอน เพื่อทดลองสอนวิชาภาษาไทยให้กับมหาวิทยาลัยพระตะบอง โดยใช้หลักสูตรระยะสั้นเพื่อทดลองสอนในระยะเวลา 2 ปี (2016 – 2017) เน้นภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร โดยมีหลักสูตรระยะสั้น (มีนาคม – พฤษภาคม 2016) ดังนี้
- หลักสูตรระยะสั้นช่วงที่ 1 ภาษาไทยพื้นฐาน
- หลักสูตรระยะสั้นช่วงที่ 2 การพัฒนาทักษะการฟัง และการพูด
- หลักสูตรระยะสั้นช่วงที่ 3 การพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียน
- หลักสูตรระยะสั้นช่วงที่ 4 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
3) หลักสูตร Elective Course(2018 – 2019)โดยมีจำนวนนักศึกษา จำนวน 2 รุ่น ได้แก่
- รุ่นที่ 1: นักศึกษาลงทะเบียนเรียน จำนวน 26 คน จากสาขาวิชาอักษรศาสตร์ภาษาแขมร์ คณะศิลปะศาสตร์ มนุษยศาสตร์
- รุ่นที่ 2: นักศึกษาลงทะเบียนเรียน จำนวน 111 คน จากสาขาเกษตร คณะเกษตร (ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3

ระยะที่ 2 ปี 2020 -2022 มีการดำเนินการ ดังนี้
1) ร่างหลักสูตรวิชาภาษาไทยระดับปริญญาตรี 4 ปี
หลักสูตรวิชาภาษาไทยระดับปริญญาตรีได้รับการเห็นชอบจากกระทรวงอบรม ยุวชน และกีฬา ราชอาณาจักรกัมพูชา
2) หลักสูตรอบรมภาษาไทยระยะสั้น (Short course) ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
2.1 หลักสูตรอบรมภาษาไทยระยะสั้น ระดับพื้นฐาน และระดับสูง ปีละ 3 ครั้ง
2.2 หลักสูตรอบรมภาษาไทยระยะสั้นเฉพาะทางสำหรับประกอบอาชีพ ปีละ 1 - 2 ครั้ง
2.3 เอกสารประกอบการสอนครบถ้วน
3) หลักสูตรภาษาไทยวิชาเลือก (Elective course) ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
3.1 หลักสูตรภาษาไทยวิชาเลือก (elective course) เปิดสอนระดับปริญญาตรีอย่างต่อเนื่อง
3.3 เอกสารประกอบการสอนครบถ้วน
4) อาจารย์ผู้สอน (ชาวกัมพูชา) มีคุณวุฒิตามมาตรฐานและมีจำนวนเพียงพอที่จะทำการสอน ตามหลักสูตร
4.1 จำนวนอาจารย์ผู้สอนจบระดับมหาบัณฑิตด้านภาษาไทย จำนวน 2 คน ภายในปี 2020
5) มีทรัพยากรในการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยและเพียงพอ
5.1 ห้องเรียน
- จำนวนห้องเรียนตามตารางเรียนที่มหาวิทยาลัยจัดให้
- มุมศึกษาภาษาไทยภายในภาควิชาภาษาไทย
5.2 หนังสืออ่านนอกเวลาและหนังสือส่งเสริมการอ่านด้านภาษาไทย
5.3 สื่อการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะด้านภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง
6.1 กิจกรรมเสริมทักษะด้านภาษาและวัฒนธรรมไทย จำนวนไม่น้อยกว่า 2 กิจกรรมต่อปี
6.2 หลักสูตรฝึกอบรมภาษาไทยระยะสั้นแบบเข้มที่ประเทศไทยปีละ 1 ครั้ง
ระยะที่3 ปี 2023 – 2025 มีการดำเนินการดังนี้
มุ่งเน้นส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการศึกษาพัฒนาทักษะภาษาไทยและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างสองประเทศ โดยมีการดำเนินงานในปี 2566 ได้แก่
1) ประเมินการปฏิบัติงานของอาสาสมัครช่วยสอน
2) คัดเลือกและแนะแนวทางการปฏิบัติงานอาสาสมัครช่วยสอนเพิ่มเติม 1 คน
3) ตรวจทานข้อมูลเอกสารหลักสูตรภาษาไทยในรูปแบบ 3+1 เพื่อเสนอกระทรวงศึกษาธิการกัมพูชาพิจารณาอนุมัติ
4) ประชุมวางแผนการจัดทำรายละเอียดของรายวิชาและแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบในหลักสูตรภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติพระตะบอง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

SDG ที่เกี่ยวข้อง :
    SDG 4 : การศึกษาที่มีคุณภาพ
    SDG 17 : ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน