saraban@rbru.ac.th 039-319111 ต่อ 0

โครงการ ฝาย...แหล่งน้ำต้นทุนชุมชนด้วยพลังอาสา

ขอบเขตเป้าหมายโครงการ


การเรียนการสอน
การมีส่วนร่วมสู่ท้องถิ่น

ผู้รับผิดชอบ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | วันที่จัดโครงการ 21 มิ.ย. 2564 - 24 มิ.ย. 2564


พื้นที่ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นตำบลใหญ่ ที่มีถึง 14 หมู่บ้านและวิถีชีวิตของคนวังหว้าส่วนใหญ่คือเป็นเกษตรกร จึงทำให้เห็นว่า ทรัพยากรน้ำ คือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของคนในตำบลวังหว้า แต่เดิมคนในตำบลวังหว้ามีการปลูกยางพาราเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2540 ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากปลูกยางพารามาเป็นทุเรียนเพราะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ราคายางพาราลดลงจึงทำให้คนหันมาปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาไม่กี่ปีส่งผลทำให้ความต้องการการใช้น้ำการเกษตรเพิ่มสูงขึ้นทำให้น้ำภายในตำบลวังหว้าไม่เพียงพอ จึงเกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องการแย่งน้ำต่างคนต่างต้องการน้ำเพื่อนำไปใช้ในการเกษตรและครัวเรือน ทีม Gen A จิตอาสาเปลี่ยนแปลงชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของคนในตำบลวังหว้า ทีม Gen A ปฏิบัติการเดินสำรวจในคลองวังหว้าพบว่ายังมีสายน้ำขนาดเล็กที่เรียกว่า คลองไส้ไก่หรือคนวังหว้าเรียกว่าลำราง อีกประมาณ 10 กว่าสายที่ไหลแยกจากคลองวังหว้าเส้นหลักไปยังชุมชน และพบว่า มีชาวบ้านนำกระสอบทรายมากั้นน้ำในลำรางแบบง่ายๆ ในพื้นที่ส่วนตัวของตนเอง จึงทำให้รู้ว่าพื้นที่มีปัญหาเรื่องภัยแล้ง โดยเฉพาะในปี 2562 ได้เกิดภาวะแล้งจัด ทำให้น้ำในคลองวังหว้า ลำรางธรรมชาติเหือดแห้ง อีกทั้งน้ำในอ่างเก็บน้ำประแสร์ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการ ทีม Gen 4 จึงนำบทเรียนความผิดพลาดจากฝ่ายที่เคยทดลองสร้างก่อนหน้านี้ มาถอดบทเรียนและปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ เป็นฝายที่มีลักษณะกึ่งถาวร มีความกว้าง 1.5 เมตร ยาว 5 เมตร ใช้ไม้ไผ่ เป็นวัสดุสร้างตัวฝาย แล้วนำกระสอบทราย วางเป็นแนวยาวกั้นน้ำ สูงประมาณ 1.5 เมตร ด้านบนตัวฝายวางก้อนหินและเทปูนทับ เพื่อทำให้ฝ่ายมีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น ฝายจะทำหน้าที่กั้นชะลอน้ำในลำรางธรรมชาติให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่ให้ได้นานขึ้นจึงได้วิเคราะห์ทราบว่าน้ำธรรมชาติที่ไหลเข้ามาในคลองวังหว้าและมาสู่ลำรางต่างๆจะมีการวางระบบกักเก็บน้ำหรือ ฝายชะลอน้ำไว้ให้นานที่สุด โดยไม่ควรปล่อยให้ไหลลงสู่ทะเล จึงได้มีการจัดเวทีประชาคมร่วมกันหาทางออกและแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้นำชุมชนกับชาวบ้านโดยมีการนำแนวทางพระราชดำริมาแก้ไขปัญหาภายในตำบลอีกทั้งยังเป็นการสร้างการเรียนรู้เรื่องการจัดการน้ำในชุมชน เราจึงได้ตั้งเป้าหมายสร้างฝ่ายจำนวน 12 ตัวใน 12 จุดของเส้นทางลำรางธรรมชาติ ทีม Gen A ได้กำหนดฝายที่ 12 เป็นฝ่ายต้นแบบ ณ จุดลำรางตาแผน สำเร็จเมื่อวันที่ 21-26 มิถุนายน2564 ได้สำเร็จตามเป้าหมายที่ทีม Gen A ได้กำหนดไว้เพื่อให้เกิดระบบต้นทุนสำหรับชุมชน ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มบริหารจัดการน้ำในการสานต่อให้ลำรางธรรมชาติในคลองวังหว้ามีฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริที่เกิดจากการจัดการตนเองของชุมชนสามารถมีระบบการจัดการน้ำสามารถมีระบบการบริหารจัดการน้ำธรรมชาติแบบพึ่งตนเองได้ ทีม Gen A มุ่งหวังให้ฝ่ายน้ำ 12 ตัว เป็นแรงกระตุ้นให้ชุมชนเรียนรู้และทำต่อไปอย่างยั่งยืน ผลที่เกิดประโยชน์กับชุมชนมีดังนี้ 1.มีฝายชะลอน้ำเพื่อช่วยกักเก็บน้ำในลำรางธรรมชาติให้ได้นานขึ้น 2.เกิดฝ่ายต้นแบบในชุมชนสำหรับการเรียนรู้ 3.ชาวบ้านตระหนักและให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรน้ำ 4.ตำบลวังหว้าได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเป็นแหล่งน้ำจากหน่วยงานภายนอก 5.ช่วยให้เกิดระบบนิเวศเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำ ทั้งปลาน้ำจืด หอย พืชผัก เป็นแหล่งอาหารพื้นบ้านให้กับคนในชุมชน 6.ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้กับเกษตรกรมีน้ำต้นทุนจากธรรมชาติ ผันเข้าสู่บ่อกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร 7.ลดปัญหาความขัดแย้งเรื่องน้ำ เพราะมีระบบการจัดการน้ำส่วนรวมที่ทำเพื่อประโยชน์ของทุกคนในชุมชน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ไฟล์ที่แนบ

Related SDGs :
    SDG 4 : การศึกษาที่มีคุณภาพ