โครงการเข้าถึงชุมชนด้านการให้การศึกษาในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติในเรื่องระบบนิเวศน้ำจืด
ขอบเขตเป้าหมายโครงการ:
การมีส่วนร่วมสู่ท้องถิ่น
ผู้รับผิดชอบ :
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
| วันที่จัดโครงการ 1 ม.ค. 2566 - 31 ธ.ค. 2566มหาวิทยาลัยได้จัดหลักสูตร/โครงการ/กิจกรรมเข้าถึงชุมชนในด้านการให้การศึกษาแก่ชุมชนในเรื่องระบบนิเวศน้ำจืดตามความต้องการและการมีส่วนร่วมของชุมชนในโครงการวิจัย 1) “การศึกษาการป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำจันทบุรี ในเขตพื้นที่ตำบลท่าหลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี” 2) “การออกแบบประติมากรรม เพื่อส่งเสริมภูมิทัศน์และพัฒนาให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษา: สวนสาธารณะบึงหน้าเทศบาลเมืองท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี” 3) “ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบแพลอยน้ำ สำหรับเกษตรกรฐานรากในระดับครัวเรือน” และ 4) “ชุดต้นแบบระบบน้ำหยดพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมอัตโนมัติผ่านเครือข่ายไร้สายสำหรับพื้นที่เกษตรห่างไกล” นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีการจัดโครงการ “ส่งเสริมการทำงานวิจัยสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น” ผ่านโครงการ GLOBE Program (Global Learning and Observations to Benefit the Environment) โดยให้การศึกษาทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการกับเยาวชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับระบบนิเวศน้ำจืด การตรวจสอบค่าคุณภาพน้ำจืด การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในน้ำจืด นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังส่งเสริมการดำเนินโครงการของชมรมนักศึกษา “Gen A จิตอาสาเปลี่ยนแปลงชุมชน” ทำกิจกรรมจิตอาสา “พลังอาสา สร้างฝาย เพื่อชุมชน” บนผืนป่าชุมชนเขาสำเภาคว่ำ ต.กระแจะ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี
ไฟล์ที่แนบ
SDG ที่เกี่ยวข้อง :
-
SDG 14 : การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล