saraban@rbru.ac.th 039-319111 ต่อ 0

สรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ 20 ปี (2560 – 2579) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี พ.ศ. 2564 ด้านการผลิตและพัฒนาครู

ขอบเขตเป้าหมายโครงการ


การเรียนการสอน
การมีส่วนร่วมสู่ท้องถิ่น

ผู้รับผิดชอบ : คณะครุศาสตร์ | วันที่จัดโครงการ 1 มิ.ย. 2564 - 1 ก.ค. 2564


ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนาครู กลยุทธ์ พัฒนาสมรรถนะครูของครูให้มีความเป็นมืออาชีพ ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ เป้าหมายย่อยที่ 4.4 และ 4.c ที่มาและความสำคัญของโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ภารกิจสำคัญหนึ่งคือการผลิตและพัฒนาครู ครูประจำการส่วนหนึ่งที่สังกัดโรงเรียนในเขตพื้นที่บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีเป็นบัณฑิตครูที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ส่วนหนึ่งเป็นบัณฑิตที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ขณะที่ส่วนหนึ่งเป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามารเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว การเสริมสร้างให้ครูประจำการเหล่านี้เป็นครูที่มีความรู ความสามารถ หรือมีสมรรถนะทางวิชาชีพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในปี พ.ศ.2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สนับสนุนงบประมาณสำหรับจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างสมรรถนะจำเป็นในการประกอบวิชาชีพให้แก่ครูประจำการ เพื่อให้ครูมีความพร้อมในการจัดการผลิตสื่อ พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองเพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีสมรรถนะจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กิจกรรมสำคัญที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีดำเนินการเพื่อพัฒนาครูประจำการ ประกอบด้วย โครงการสำคัญ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการยกระดับวิชาการ วิชาชีพ ทักษะในวิชาชีพที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง (Re-Skill and Up-Skill) โครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ลักษณะการดำเนินงานของกิจกรรมสำคัญดังกล่าวมุ่งเน้นพัฒนาครูประจำการโดยการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่สนใจและติดตามผลการนำความรู้จากการอบรมไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน และติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนรู้กับครูที่เข้าร่วมกิจกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีมุ่งหวังให้การดำเนินงานด้านการผลิตและพัฒนาครูเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ครูประจำการเข้ารับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อนำความรู้ความสามารถ และสมรรถนะที่ได้จากการพัฒนาตนเองไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนต่อไป ระยะเวลาการดำเนินงาน 1. โครงการยกระดับวิชาการ วิชาชีพ ทักษะในวิชาชีพที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง (Re-Skill and Up-Skill) ดำเนินการวันที่ 26 มิถุนายน 2564 และวันที่ 13 – 18 กรกฎาคม 2564 2. โครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวางแผนพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการช่วงเดือนมกราคม ระยะปรับปรุงและทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม และระยะการพัฒนาครูต้นแบบการใช้นวัตกรรมและเผยแพร่นวัตกรรม ดำเนินการช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2564 3. โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนดำเนินการอบรมพัฒนาครู รร.ตชด. ในช่วงเดือนมกราคม และติดตามผลการนำความรู้ความสามารถ สมรรถนะไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ผู้เข้าร่วมโครงการ ครูประจำการจากสถานศึกษาในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจำนวน 86 แห่ง รวมครูประจำการที่เข้าร่วม จำนวน 200 คน จำแนกได้ดังนี้ 1. โครงการยกระดับวิชาการ วิชาชีพ ทักษะในวิชาชีพที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง (Re-Skill and Up-Skill)มีครูประจำการเข้าร่วม จำนวน 50 คน 2. โครงการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีครูประจำการเข้าร่วม จำนวน 50 คน 3. โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มีครูประจำการเข้าร่วมจำนวน 100 คน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ไฟล์ที่แนบ

Related SDGs :
    SDG 4 : การศึกษาที่มีคุณภาพ